<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/zfdcrh0iKh8?list=PLW0C-C4Ybh25N4aPZxUEdie01fwR6DRZ6" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

การแสดงพื้นเมืองสี่ภาค

   
     การแสดงพื้นเมือง   หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ
     การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป โดยมีด้วยกันทั้งหมด 4 ภาค
         ภาคเหนือ
                           

      จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
                                                                    ฟ้อนสาวไหม

                                                                           ฟ้อนเล็บ
       
       นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

             ภาคอีสาน
          การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ  การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน
     ส่วนใหญ่ ว่า เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน
                                                                          เซิ้งสวิง



เซิ้งกระติบข้าว


              ภาคกลาง
          ภาคกลางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำหลายสายเพมาะแก่การกสิกรรม  ทำนา  ทำสวน  ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์  จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆมากมาย  ทั้งตามฤดูกาล  และตามเทศกาล  ตลอดจนตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
         ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม  การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ  จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี  เช่น รำวง  เป็นต้น  และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง  ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด  แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ  การร่ายรำที่ใช้มือ แขน  และลำตัว เช่นการจีบมือ  ม้วนมือ  ตั้งวง  การอ่อนเอียงและยักตัว  สังเกตได้จาก  รำลาวกระทบไม้  ที่ดัดแปลงมาจาก เต้นสาก  การเต้นเข้าไม้ของอีสานในการเต้นสากก็เป็นการเต้นกระโดดตามลีลาอีสาน แต่การรำลาวกระทบไม้ที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นใหม่นั้น  นุ่มนวลอ่อนหวาน กรีดกรายร่ายรำ แม้การเข้าไม้ก็นุ่มนวลมาก
รำวง



 เต้นกำรำเคียว 


   
         การแสดงพื้นเมืองภาคกลางมีหลายอย่าง เช่น รำวง  รำเหย่อย  เต้นกำรำเคียว  เพลงเรือลำตัด เพลงพวงมาลัย  ฯลฯ
               
          ภาคใต้ 

       โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ 
      การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุงรองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น
โนรา

ตารีกีปัส




สาระดนตรี ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การก าเนิดของเสียง ลักษณะของเสียง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบจังหวะและท านอง ระดับเสียงดัง – เบา (Dynamic) ความช้า – เร็ว ของ เสียง อัตราความเร็วของจังหวะ (Tempo) ภาษาดนตรี การฝึกโสตประสาท การอ่านบทกลอนและการร้อง เพลงประกอบจังหวะ การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงตามความดัง – เบา และความช้า – เร็ว ของจังหวะ การฝึกปฏิบัติการร่วมบรรเลงหมู่ การใช้เครื่องดนตรีอย่างถูกต้องและปลอดภัย หลักการฟังและการรับรู้ เสียงดนตรี คุณลักษณะของเสียงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เสียงขับร้อง และเสียงเครื่องดนตรี การสร้างสรรค์ ผลงานทางดนตรีและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวัน เพลงที่ใช้ในชีวิตประจ าวัน เพลงกล่อมเด็ก บทเพลง ประกอบการละเล่น เพลงส าคัญ (เพลงชาติไทย เพลงสรรเสริญพระบารมี) ที่มามาของบทเพลงท้องถิ่น และความน่าสนใจของบทเพลงในท้องถิ่น

สาระนาฏศิลป์ ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ การใช้ ภาษาท่าและการประดิษฐ์ท่าประกอบเพลง การใช้นาฏยศัพท์และภาษาท่า การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติและสัตว์ การประดิษฐ์ท่าประกอบการร า ระบ า เต้น ร าวงมาตรฐาน การเป็นผู้ชมที่ดีและมี มารยาท การรับรู้ด้านความรู้สึกและการแสดงความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์ ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ รูปแบบและวิธีการน าเสนอการแสดง การประดิษฐ์ท่าร าประกอบเพลง การจัดกิจกรรมนาฏศิลป์ การฝึก ร่างกายให้เคลื่อนไหวอย่างสง่างาม การท างานกลุ่มจัดการแสดงละครเพลง วินัยในการท างานกลุ่ม การละเล่นของเด็กไทย ประวัติความเป็นมาและคุณค่านาฏศิลป์ สุนทรียะของนาฏศิลป์ การสื่อความคิดและ ความรู้สึกทางนาฏศิลป์ การเข้าชมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมหรือการละครของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวัย

   ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภททั้งไทยและสากล อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทย และสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่น การนำดนตรีไปประยุกต์ในงานอื่น ๆ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
          ศึกษาทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบการสร้างสรรค์ละครสั้น การใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่คณะ การวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร การวิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ และวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตภาพ ศึกษาใบความรู้ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์จำแนกประเภท อธิบาย เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง การสรุปความรู้ และการจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สร้างและนำเสนอผลงานด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ให้ได้ผลตามที่ต้องการสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจความไพเราะงดงามของดนตรี และนาฏศิลป์ บรรยายและอธิบายเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ได้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
          เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรี นาฏศิลป์ และนำความรู้ด้านดนตรี นาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์งานดนตรี และนาฏศิลป์ เชื่อมั่น ภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เห็นคุณค่าของดนตรี และนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ศึกษา วิเคราะห์ บรรยาย อธิบาย ฝึกปฏิบัติ เพลงที่ฟังโดยอาศัยองค์ประกอบทางดนตรีและศัพท์สังคีตความรู้สึกที่มีต่อดนตรี ทำนอง จังหวะ การประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลงที่ฟัง ประเภทและบทบาทหน้าที่เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ การอ่าน เขียนโน้ตไทยและโน้ตสากลธรรมนองง่ายๆ การใช้เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง ด้นสด ที่มีจังหวะและทำนองง่ายๆ เรื่องราวของดนตรีไทยในประวัติศาสตร์ ดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่นการสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดง โดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์การออกแบบเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างง่ายๆ การแสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ ความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์และการละครอย่างสร้างสรรค์ ความคิดเห็นในการชมการแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวันสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์และการละครประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือชมการแสดงนากศิลป์และละคร

โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรีและนาฏศิลป์ ในการแสดงออกทางดนตรีและนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี-นาฏศิลป์ กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม