ศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง หลักธรรม หน้าที่และมรรยาทชาวพุทธ ศาสนพิธี วิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา ตลอดจนการสัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนาเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานและได้แนวทางในการปฏิบัติตนและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

ศึกษาการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่แผนที่ แผนภูมิ กราฟ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และระบบสารสนเทศทั้งจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการ  รวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ในเรื่องลักษณะทางกายภาพและสังคม ได้แก่ ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ  การแบ่งภูมิภาค ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางวัฒนธรรม สถานการณ์ปัจจุบัน และปัญหาสิ่งแวดล้อมของทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้  เพื่อให้เข้าใจถึงระบบธรรมชาติและลักษณะประชากรและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ตลอดจนตระหนักถึงวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของภาวะประชากรและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และเสนอแนวทางในการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน

เพื่อให้รักการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีวิจารณญาณ รู้เท่าทันสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง รู้จักตนเอง ภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ รักท้องถิ่น ศรัทธาและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีค่านิยมที่ดีงาม มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มุ่งมั่นในการทำความดี และสามารถนำหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รหัสตัวชี้วัด

1.1 3/1  1.1 3/2   1.1 3/3  1.1 3/4  1.1 3/5  1.1 3/6  1.1 3/7

1.1 3/8  1.1 3/9  1.1 3/10  1.2 3/1  1.2 3/2   1.2 3/3  1.2 3/4  1.2 3/5  1.2 3/6  1.2 3/7  ส 5.1 3/1  5.1 3/2 

5.2 3/1  5.2 3/2  5.2 3/3  5.2 3/4  

รวมทั้งหมด  23  ตัวชี้วัด