ศึกษาเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการสืบค้นข้อมูล ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทย ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทยกับทวีปต่าง ๆ การป้องกันภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำเลที่ตั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ปัจจัยทางกายภาพและสังคมที่มีผลต่อการเลื่อนไหลของความคิด เทคโนโลยี สินค้าและประชาชน ในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
โดยใช้วิธีการทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและนำเสนอข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติรวมถึงปัจจัยทางกายภาพและสังคมที่มีผลต่อการเลื่อนไหลของความคิด เทคโนโลยี สินค้าและประชาการ ในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
เพื่อให้เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
ศึกษาความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ และค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคม ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ ศึกษาความเป็นมา หลักการและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย ศึกษาบทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยและการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในประเทศ ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน และศึกษาผลของการมีกฎหมาย เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
โดยใช้กระบวนการศึกษา สังเกต วิเคราะห์ ปฏิบัติ
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปรัชญา และของเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักปฏิบัติตนตามบทบาทนำหลักธรรมไปใช้ในการตัดสินใจเลือกในฐานะผู้บริโภค เข้าใจนโยบาย และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
ตัวชี้วัด
ส 5.1 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4
ส 5.2 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4 ม.4-6/5
รวม 9 ตัวชี้วัด
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดช่วงชั้น |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง |
1. ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ |
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลและข่าวสารภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ และ ภูมิสังคมของไทย และภูมิภาคต่าง ๆ |
2. วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งทำให้ เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทางธรรม ชาติในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก |
ปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาค ต่าง ๆ ของโลก การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพในส่วนต่าง ๆ ของโลก การเกิดภูมิสังคมใหม่ของโลก |
3. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย และทวีปต่าง ๆ |
การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ใน ประเทศไทยและทวีปต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก |
4. ประเมินการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลกว่า เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์และหรือ ธรรมชาติ |
การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลก เช่น ภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง สภาพ อากาศแปรปรวน |
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดช่วงชั้น |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง |
1. วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลก |
1. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกาย ภาพในส่วนต่าง ๆ ของโลก ที่มีผลต่อการ เกิดภูมิสังคมใหม่ ๆ ในโลก 2. วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลก |
2. ระบุมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา บทบาท ขององค์การและการประสานความร่วมมือทั้งใน ประเทศและนอกประเทศเกี่ยวกับกฎหมาย สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม |
1. มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศและ นอกประเทศ 2. บทบาทขององค์การและการประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและนอกประเทศ กฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
3. ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก |
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก |
4. อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการ สร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลก |
การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้าง สรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลก |
5. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิต ตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
การแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตตามแนวทาง การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
- Teacher: Watcharapol Nakthab