วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นวิชาที่ศึกษาวิเคราะห์ ( ตั้งคำถาม วางแผน สืบค้น และรวบรวมข้อมูล ทดลอง นำเสนอ) ความแตกต่างของสัตว์ในเรื่องสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์ รูปร่างลักษณะของสัตว์ พฤติกรรมของสัตว์ กลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวและออกลูกเป็นไข่ เปรียบเทียบและระบุลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูก และอธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกว่าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ระบบนิเวศน้ำจืดซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศน้ำจืดอันเกิดจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศต่างๆ การวัดสภาพอากาศ การเกิดฤดู ไอน้ำในอากาศ น้ำค้าง หมอก เมฆ วัฏจักรของน้ำ อากาศรอบตัวเรา สมบัติของอากาศ การเคลื่อนที่ของอากาศ มลพิษทางอากาศ สาเหตุที่ทำให้อากาศเป็นพิษ ผลเสียจากอากาศเป็นพิษ วิธีป้องกันอากาศเป็นพิษ แรงกับการเคลื่อนที่ ความหมายของแรง แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ พลังงานไฟฟ้า แหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ การเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

 

ว2110วิทยาศาสตร์ 2                                                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1      ภาคเรียนที่  2                     เวลาเรียน   60   ชั่วโมง    จำนวน  1.5  หน่วยกิต

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            ศึกษาวิเคราะห์  ปริมาณสเกลาร์  ปริมาณเวกเตอร์  ระยะทาง  การกระจัด  อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ  อุณหภูมิและการวัดอุณหภูมิ  การถ่ายโอนความร้อน  การดูดกลืน  การคายความร้อน  โดยการแผ่รังสี  สมดุลความร้อน  ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของสาร  ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ  ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ  การเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์  แปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศ  ผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก  รูโหว่โอโซนและฝนกรด  ผลของภาวะโลกร้อน  ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

            โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูล  และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ  เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

 

รหัสตัวชี้วัด

ว 4.1 ม.1/1 , ม.1/2

ว 5.1 ม.1/1 , ม.1/2 , ม.1/3 , ม.1/4

ว 6.1 ม.1/1 , ม.1/2 , ม.1/3 , ม.1/4 , ม.1/5 , ม.1/6 , ม. 1/7

ว 8.1 ม.1/1 , ม.1/2 , ม.1/3 , ม.1/4 , ม.1/5 , ม.1/6 , ม. 1/7 , ม.1/8 , ม.1/9

รวมทั้งหมด  22  ตัวชี้วัด


                      ศึกษาหลักการของไฟฟ้าและแม่เหล็กในเรื่อง กฎของคูลอมป์ สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความจุและตัวเก็บประจุ กฎของโอห์ม สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่าย การหาพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้า หลักการของมอเตอร์ กฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์และกฎของเลนส์ หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไฟฟ้ากระแสสลับ การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง แนวคิดทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมแม่เหล็กฟ้า โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบค้นข้อมูล การสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด มีความสามารถในการสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ การตัดสินใจ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

                ศึกษา วิเคราะห์ สารอาหาร การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ การเจริญเติบโตของมนุษย์ ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ โซ่อาหารและสายใยอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตกับสภาพแวดล้อม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นและการดูแลรักษา สมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส การเปลี่ยนแปลงของสารและผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การแยกสารด้วยวิธีการต่างๆ สารในชีวิตประจำวัน วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ตัวนำและฉนวนไฟฟ้า การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน แม่เหล็กไฟฟ้า จำแนกประเภทของหิน สมบัติของหิน การเปลี่ยนแปลงของหิน ธรณีพิบัติภัย การเกิดฤดู ข้างขึ้นข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ

                โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ศึกษาเกี่ยวกับ เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ น้ำและบัฟเฟอร์ภายในเซลล์ คาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ วิตามิน กรดนิวคลีอิก การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร และกระบวนการเมแทบอลิซึมเบื้องต้น ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสมบัติทางเคมีของคาร์โบไอเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก และวิตามิน